วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดหนองคาย โดยนายมงคล ประทุมคำ สหกรณ์จังหวัดหนองคาย มอบหมายให้นางรวิภา เพชรฤาชัย
ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 และนางสาวปรียนันท์ รักสุจริต ผู้อำนวยการกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ เข้าร่วมโครงการยกระดับองค์ความรู้ด้านกฎหมายสหกรณ์
และเพิ่มศักยภาพด้านการกำกับ ตรวจสอบ เพื่อคุ้มครองระบ[สหกรณ์ กิจกรรมย่อย หลักสูตร “พัฒนาทักษะความรู้กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เพิ่มและสิทธิภาพการตรวจสอบ
ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
สำหรับผู้อำนวยการกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ และผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์” (รุ่นที่ 1 : ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้าพบปะ และมอบนโยบายแก่ผู้เข้าอบรมโครงการยกระดับองค์ความรู้ด้านกฎหมายสหกรณ์ และเพิ่มศักยภาพด้านการกำกับ ตรวจสอบ เพื่อคุ้มครองระบบสหกรณ์ กิจกรรมย่อย หลักสูตร “พัฒนาทักษะความรู้กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เพิ่มและสิทธิภาพการตรวจสอบ ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง สำหรับผู้อำนวยการกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ และผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์” (รุ่นที่ 1 : ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยมีนายรุ่งโรจน์ สรวุฒิพิบูลย์ สหกรณ์จังหวัดนนทบุรี นางสาวปาจรีย์ คงแย้ม ผู้อำนวยการกลุ่มทะเบียนและข้อบังคับ สำนักนายทะเบียนและกฎหมาย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับฟัง ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี
โอกาสนี้ อธิบดีฯ ได้กล่าวว่า กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มจัดตั้งฯ จะต้องประสานการทำงานร่วมกันอย่างใกลชิด ต้องทำงานควบคู่กัน เพื่อให้การทำงานด้านการส่งเสริมสหกรณ์เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง ซึ่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของสหกรณ์อย่างชัดแจ้ง อยากเน้นย้ำในด้านการรับจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร การจัดตั้งจะต้องมีคุณภาพ ก่อนจัดตั้งนั้น ต้องมีการรวมกลุ่มฝึกปฏิบัติให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์อย่างถ่องแท้ ซึ่งไม่ได้เน้นจำนวนสหกรณ์ แต่จะเน้นคุณภาพของสหกรณ์ ในด้านข้อบังคับของสหกรณ์นั้น หากสหกรณ์ดำเนินการปรับใหม่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมหกรณ์จะต้องดู ว่าเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ เกิดผลเสียต่อสหกรณ์หรือไม่ สอบทานให้ตรงกับฉบับร่างของ
นายทะเบียนสหกรณ์ ซึ่งกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มจัดตั้งฯ จะต้องทำงานควบคู่ไปด้วยกัน ตลอดจนการรับทราบระเบียบของสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มจัดตั้งฯ จะต้องวิเคราะห์ถึงความขัดแย้งต่อกฎหมาย และข้อบังคับหรือไม่ เกิดประโยชน์ต่อสหกรณ์อย่างไร และต้องมีความสอดคล้องกับข้อบังคับปัจจุบันด้วย นอกจากนี้ บทบาทหน้าที่ในการดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป็นหน้าที่ที่สำคัญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ หูตาต้องไว หากพบการกระทำที่ผิดต่อระเบียบ ข้องบังคับของสหกรณ์ ต้องรีบเข้าระงับก่อนที่จะเกิดความเสียหาย ขอให้นำความรู้ที่ได้ศึกษาจากตำรา และได้รับจากการฝึกอบรม ไปใช้ในการทำงานด้วยความโปร่งใส มีธรรมาภิบาลเพื่อให้เกิดความผาสุกของพี่น้องประชาชน และร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้ระบบสหกรณ์ต่อไป